กองทุนรวม มีแบบใดบ้างที่เหมาะกับวัยเกษียณ
การเลือกกองทุนรวมที่ดีให้พิจารณาจากความหน้าเชื่อถือได้ของเจ้าของกองทุน ซึ่งถ้าเป้นสมัยก่อนเมื่อนานมาแล้วการซื้อทรัพย์สินจากธนาคารพาณิชหรือสถานบันการเงิน หรือได้ทำงานในธนาคารพาณิชหรือสถานบันการเงินถือว่ามั่นคงมากพอๆ กับข้าราชการ หรือบางครั้งดีกว่าข้าราชการด้วยซ้ำไปเพราะมีโบนัส แต่ถ้าเป็นสมัยนี้ธนาคารพาณิชหรือสถานบันการเงิน ลูกค้าที่จะซื้อกองทุนต้องหาข้อมูลหรือมีข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของกองทุนดีๆ ธนาคารพาณิชหรือสถานบันการเงินก็อาจจะล้มละลาย หรือถูกควบรวม หรือถูกซื้อด้วยธุรกิจอื่นได้เสมอ
นอกจากดูเจ้าของกองทุนแล้วให้ดูที่การประกันเงินต้นว่าต้องได้คืนครบเมื่อหมดระยะเวลาตามที่กองทันกำหนด พยายามหากองทุนที่ไม่มีความเสี่ยงหรือมีความเสี่ยงน้อยที่สุดสำหรับการคืนเงินต้นที่ลูกค้าลงทุนไปในระยะเวลาที่กองทุนกำหนด อย่างที่สามที่ต้องพิจารณาคือระยะเวลาของกองทุน อันนี้แล้วแต่ความนิยมของผู้ซื้อว่าใจร้อนหรือแค่ต้องการสะสมเงินออมไปเรื่อยๆ ได้ผลประโยชน์เป็นรายปีกลับมาก็พอ สุดท้ายอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ได้รับจากกองทุนพิจารณาแล้วสมน้ำสมเนื้อกับเงินที่ลงไปหรือไม่ นอกจากดอกเบี้ยแล้วถ้าเจ้าของกองทุนเป็นธนาคารพาณิชหรือสถานบันการเงินชั้นเยี่ยม ผู้ซื้อก็มักจะได้สิทธิพิเศษในการทำบัตรเครดิตต่างๆ พ่วงไปด้วยอีกมากมาย ธนาคารพาณิชหรือสถานบันการเงินนอกจากอยากให้เป็นลูกค้าซื้อกองทุนออมเงินแล้วก็ยังอยากให้เป็นลูกค้าบัตรเครดิตให้เสียดอกเบี้ยกลับคืนแก่ธนาคารอีกด้วย รายกาจนักนะ!!
กองทุนรวมที่เหมาะกับวัยเกษียณยังคงเป็นกองทุนแบบ LTF หรือ RMF เพราะสามารถช่วยในด้านภาษีได้ในส่วนของ RMF แต่ LTF ใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้ถึงแค่ปีภาษี พ.ศ.2562 เท่านั้น อย่างไรก็ตามหากในวัยเกษียณมีกำลังพอและไม่ได้ใช้จ่ายอะไรมาก นอกเหนือจากการกันเงินไว้จำนวนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้ว การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้เพื่อการออมในระยะกลางไม่เกิน 3 ถึง 5 ปีก็น่าสนใจเพราะสามารถนำเอาเงินกำไรมาใช้จ่ายต่อยอดหรือแสวงหาความสุขส่วนตัวได้เรื่อย อีกส่วนหนึ่งให้แบ่งไปลงทุนระยะยาวแบบ 10 ปีขึ้นไปโดยเน้นลงทุนในกองทุนตราทุนต่างๆ กระจายออกหลายๆ กองทุนเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงไปในตัวด้วย
การออมอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญสำหรับวัยเกษียณคือการทำประกันแบบตลอดชีพ การออมแบบนี้เพื่อป้องกันและเป็นหลักประกันให้กับลูกหลานหากเกิดกรณีเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต จะได้ไม่เป็นภาระสร้างความลำบากให้กับลูกหลานมากเกินไป ยังมีเงินจากการประกันชีวิตเช่นว่านี้ช่วยดำเนินการในการรักษาพยาบาลหรือในงานพิธีช่วงสุดท้ายของชีวิตตามสมควรด้วย